Pages

Tuesday, December 30, 2008

ละหุ่ง กุ่ยช่าย

พืชสมุนไพรกลุ่มขับน้ำนม
สมุนไพรกลุ่มนี้มีคุณสมบัติหลัก คือ บำรุงน้ำนม และช่วยขับน้ำนม เหมาะกับคุณแม่ที่คลอดใหม่หรือกำลังให้นมลูก

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้พุ่มใบเดี่ยวมีลักษณะคล้ายนิ้วมือดอกมีลักษณะเป็นช่อ ลำต้นตรง ไม่มีเนื้อไม้ ดอกย่อยมีสีแดง ผลกลมมี 3 พู



ละหุ่ง
ชื่อที่ใช้เรียก "ละหุ่ง" ( Ricinus communis L. )

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ : เป็นยาขับน้ำนม
ราก : ต้มดื่มแก้ไข้เซื่องซึม และเป็นยาฝาดสมานด้วย
น้ำมันจากเมล็ด : ใช้เป็นยาระบายในเด็ก น้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักร ใช้ทำสบู่อาหารสัตว์
กุ่ยช่าย
ชื่อที่ใช้เรียก "กุ่ยช่าย" ( Allium tuberosum Roxb. )

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นพืชล้มลุกใบเดี่ยวดอกมีลักษณะเป็นช่อ ใบรูปแถบยาวประมาณ 1 ฟุตสีเขียวเข้ม ดอกแบบซี่ร่มดอกย่อยมีสีขาว มีกลิ่นฉุน

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ทั้งต้น : ใช้รับประทานเป็นผัก ทำขนมกุ่ยฉ่าย
เมล็ด : เผาไฟเอาควันรมเข้าไปในหู เป็นยาฆ่าสัตว์ต่างๆ ให้ตายได้
ใบ : มีสรรพคุณฆ่าเชื้อ (Antiseptic) และเป็นยาขับปัสสะวะ

Sunday, December 28, 2008

ผักเป็ดแดง ไทรย้อยใบแหลม

พืชสมุนไพร กลุ่มขับน้ำนม
สมุนไพรกลุ่มนี้มีคุณสมบัติหลัก คือ บำรุงน้ำนม และช่วยขับน้ำนม เหมาะสมกับคุณแม่ที่คลอดใหม่หรือกำลังให้นมลูก

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นพืชล้มลุกใบเดี่ยว เป็นไม้น้ำดอกมีลักษณะเป็นช่อ ใบรูปไข่ ปลายแหลม ลำต้นเลื้อยไปตามดิน มีดอกสีขาวออกที่ปลายยอด ไม้นี้เกิดตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป

ชื่อที่ใช้เรียก "ผักเป็ดแดง" Alternanthera bettzickiana ( Regel ) G. Nicholson

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ทั้งต้นและราก : รับประทานเป็นผักช่วยขับน้ำนม ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้ ตำพอกแผล

ชื่อที่ใช้เรียก "ไทรย้อยใบแหลม" ( Ficus benjamina L. )

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบเดี่ยว เกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ใบรูปไข่ ปลายใบสอบแหลม แผ่นใบบิดเล็กน้อย ดอกเป็นลูกกลม ผลอยู่ภายในลูกกลมๆนั้น มีรากค้ำยันออกตามกิ่งตลอดลำต้นอากาศเกาะตามต้นมากมาย

สรรพคุณและส่วนที่นำมาทำเป็นยา
ราก : ต้มดื่มเป็นยาบำรุงน้ำนม ขับระดูขาว แก้หนองใน แก้นิ่ว แก้ทางเดินของปัสสะวะอักเสบ

Monday, December 22, 2008

บอระเพ็ด ฟ้าทลายโจร

พืชสมุนไพร กลุ่มยาแก้ไอ ลดความร้อน
ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะเป็นสมุนไพรที่มีรสขม หรือที่เรียกว่ายาขมแก้ไอ ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการรับประทานบ้าง แต่ก็สามารถประยุกต์เป็นอาหารเมนูอร่อยได้ด้วย

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้เลื้อยใบเดี่ยวขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ เถากลมโต เปลือกหุ้มเถาเป็นตุ่มกระจายทั่วทั้งต้น ยางมีรสขมมาก ใบรูปวงกลมฐานใบเว้ารูปหัวใจ ดอกออกตามลำต้น ดอกย่อยสีเหลือง

บอระเพ็ด
ชื่อที่ใช้เรียก "บอระเพ็ด" Tinospora crispa L. Miers ex Hook.f. & Thomson

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เถา : มีรสขม เป็นยาแก้ไข้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ลดความร้อนในร่างกาย แก้ร้อนในดีมาก

ฟ้าทะลายโจร
ชื่อทีใช้เรียก "ฟ้าทะลายโจร" Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นใบประกอบแบบขนนกเกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ใบย่อยรูปรี ฐานใบเบี้ยว ขอบใบจักฟันเลื่อย ออกดอกในฤดูหนาว ก่อนออกดอกต้นจะผลัดใบเก่าทิ้งทั้งต้น ผลกลมโตขนาดลูกองุ่น

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอกและใบอ่อน : ใช้ต้มรับประทาน เจริญอาหาร บำรุงธาตุ
เปลือก : ต้มดื่มแก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิด
ก้านใบ : ต้มดื่มแก้ไข้
ยาง : ใช้ทาดับพิษร้อน
ราก : ใช้คั้นน้ำทาแก้โรคผิวหนัง

Saturday, December 20, 2008

มะลิลา มะพร้าว (สมุนไพรกลุ่มยาบำรุงกำลัง)

พืชสมุนไพร กลุ่มยาแก้อ่อนเพลียบำรุงกำลัง
เหมาะสำหรับคนป่วยที่กำลังพักฟื้น และจากการที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในการปรุง แล้วก็จะช่วยให้พลังงานกับร่างกายของผู้ป่วย

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้พุ่มใบเดี่ยวเกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายยอด กลีบดอกมีชั้นเดียว (มะลิลา) ถ้าดอกโตเป็นพุ่ม กลีบดอกซ้อนกันแน่น เรียกว่า มะลิซ้อน มีดอกสีขาว กลิ่นหอม


มะลิลา
ชื่อที่ใช้เรียก "มะลิลา" ( Jasminum sambac L. Aiton )

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอกหอม : มีน้ำมันหอมระเหยใช้อบขนม เข้ายาหอม แก้หืด ใช้ลอยน้ำดื่มให้ความรู้สึกชื่นใจ
ราก : ฝนกินแก้ร้อนใน เสียดท้อง ขับประจำเดือน
ใบ : บดละเอียดพอกรักษาแผลพุพอง แก้ไข้ ขับน้ำมัน ทำยาหยอดตา

มะพร้าว
ชื่อที่ใช้เรียก "มะพร้าว" ( Cocos nucifera L. var. nucifera )

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบประกอบแบบขนนกเกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบย่อยรูปแถบมีเส้นกลางใบที่เป็นก้านแข็งสีเหลือง ดอกออกตามซอกใบ ดอกย่อยสีขาว ผลรับประทานได้

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
น้ำมะพร้าว : ขับปัสสะวะ ขับพยาธิ และนำไปทำน้ำส้มสายชู (vinegar) ถอนพิษยาเบื่อ ยาเมา แก้อ่อนเพลีย นิยมให้สตรีที่ตั้งครรภ์ดื่ม เป็นยาฝาดสมาน แก้บิด แก้ไอ

Thursday, December 18, 2008

มะตูม บุนนาค (สมุนไพรกลุ่มบำรุงกำลัง)

พืชสมุนไพร กลุ่มยาแก้อ่อนเพลียบำรุงกำลัง
เหมาะสำหรับคนป่วยที่กำลังพักฟื้น และจากการที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในการปรุง แล้วก็จะช่วยให้พลังงานกับร่างกายของผู้ป่วย

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบประกอบแบบขนนกเกิดขึ้นบนดินดอกเดี่ยว ลำต้นและกิ่งก้านมีหนาม เมื่อส่องกับแดดจะเห็นรูโปร่งแสงจำนวนมาก กลีบดอกมีสีขาว ผลกลมโตเปลือกแข็งเป็นลายสีน้ำตาล


มะตูม
ชื่อที่ใช้เรียก "มะตูม" Aegle marmelos (L) Correa ex Roxb.

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผลอ่อน : ฝานตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงรับประทาน เรียกว่า “น้ำมะตูม”
ผลแก่ : ใช้เชื่อมรับประทาน
ผลสุก : ชงดื่ม ช่วยระบาย รักษาธาตุ
ใบ : ใส่แกงบวชเพื่อแต่งกลิ่น
บุนนาค
ชื่อที่ใช้เรียก "บุนนาค" Mesua Ferrea L.

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบเดี่ยวเกิดขึ้นบนดินดอกเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลม ดอกออกตามง่ามใบ กลีบดอกมีสีขาว งามสะดุดตา มีเกสรตัวผู้เป็นเส้นฝอยจำนวนมาก

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอกสด : กลั่นให้น้ำมันหอมระเหย (volatile oil) ใช้แต่งกลิ่นสบู่
ดอกแห้ง : ใช้เข้ายาหอม (เกสรทั้งห้า) บำรุงธาตู เข้ายาแก้ลม บำรุงหัวใจ เป็นยาขับเสมหะ
ผล : ขับเหงื่อ ฝาดสมาน

Wednesday, December 17, 2008

ผักชีล้อม ผักบุ้งทะเล (พืชสมุนไพรกลุ่มถอนพิษ)

พืชสมุนไพร กลุ่มพืชถอนพิษ
เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถช่วยขับพิษออกจากร่างกาย หรือบางชนิดใช้แก้พิษภายนอก เช่น จากการถูกหนอนคัน เป็นต้น

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นพืชล้มลุกใบประกอบแบบขนนกเกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ขึ้นตามที่น้ำท่วมขังตื้นๆ ใบย่อยรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ก้านใบกลมโปร่งใสสีเขียวอ่อน ดอกรูปร่มดอกย่อยสีขาว มีกลิ่นหอมฉุน
ผักชีล้อม
ชื่อที่ใช้เรียก "ผักชีล้อม" ( Oenanthe javanica Blume DC. )

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ทั้งต้น : แต่งกลิ่น
ลูก : รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้
ทั้งต้น : ใช้ทานเป็นผัก มักใช้รวมกับผักบุ้ง ต้นอบไอน้ำรมเข้ากระโจมทั้งตัว แก้บวม แก้เหน็บชา ขับเหงื่อ
ผักบุ้งทะเล
ชื่อที่ใช้เรียก "ผักบุ้งทะเล" ( Ipomoea pes-caprae (L) R. Br.

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้เลื้อยใบเดี่ยวเกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ขึ้นตามชายหาด ริมฝั่งทะเล ลำต้นแดง ใบรูปไข่กลับ ปลายใบเว้าลึก แผ่นใบหนา กลีบดอกเชื่อมเป็นหลอดมีรอยพับรูปดาว สีชมพูสด

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
น้ำคั้นจากต้นใบ ราก(ขยี้) : ทาแก้พิษแมงกระพรุนไฟได้ดีมาก
ราก : ขับปัสสะวะในโรคกระเพาะปัสสะวะอักเสบ
ใบ : เป็นยาพอก ต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้ รักษาไขข้ออักเสบ

Tuesday, December 16, 2008

รางจืด ว่านหางจระเข้ (พืชสมุนไพรกลุ่มถอนพิษ)

พืชสมุนไพร กลุ่มพืชถอนพิษ
เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถช่วยขับพิษออกจากร่างกาย หรือบางชนิดใช่แก้พิษภายนอก เช่น จากการถูกหนอนคัน เป็นต้น

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้เลื้อยใบเดี่ยวขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ใบรูปไข่ ปลายแหลม ดอกย่อยมีกลีบดอกสีม่วงอ่อน ใจกลางดอกสีขาว



รางจืด
ชื่อที่ใช้เรียก "รางจืด" ( Thunbergia laurifolia Lindl. )

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ : ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล
รากและเถา : ต้มรับประทานแก้ร้อนใน กระหายน้ำ
ว่านหางจรเข้
ชื่อที่ใช้เรียก "ว่านหางจระเข้" ( Aloe vera L. Burm. F. )

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นพืชล้มลุกใบเดี่ยวเป็นไม้ทะเลทรายดอกมีลักษณะเป็นช่อ ใบรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามสั้นๆ อวบน้ำและหนาเนื้อใบเป็นวุ้นใส ดอกย่อยมีกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด กลีบดอกมีสีเหลืองถึงส้มแดง

สรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้าหรือลำต้น : ต้ม เอาน้ำรับประทานแก้หนองใน
วุ้น : ปิดขมับแก้ปวดศรีษะได้ดี ปิดแผลโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้ดีมาก ปัจจุบันนิยมนำมาเชื่อมเป็นขนมหวาน
น้ำ ( เมือกจากเนื้อใบ ) : เป็นยาระบาย ทาแผลภายนอก แผลสด

Saturday, December 13, 2008

ขันทองพยาบาท หนอนตายยาก

พืชสมุนไพร กลุ่มยาแก้โรคผิวหนัง
เนื่องจากมีตัวยาที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อราได้เป็นอย่างดี จึงนำมาใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังได้หลากหลายโรค

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นใบเดี่ยวเกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ใบมีสีเขียวสด ผลกลมโตมี 3 พลู ผลแก่มีสีส้มแดง



ขันทองพยาบาท
ชื่อที่ใช้เรียก "ขันทองพยาบาท" ( Suregada multiflorum A. Juss Bail. )

สรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือกต้น : ใช้ถูฟันทำให้เหงือกแข็งแรง เป็นยาถ่ายรักษาโรคตับพิการ แก้โรคผิวหนัง
เนื้อไม้ : ต้มดื่มแก้ลมพิษ แก้ไข้

หนอนตายยาก
ชื่อที่ใช้เรียก "หนอนตายยาก" ( Stemona tuberosa Lour. )

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้เลื้อยใบเดี่ยวเกิดขึ้นบนดินดอกเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจปลายใบแหลม เส้นใบนูนลงด้านล่าง ด้านบนจึงเป็นร่องถี่ ดอกมีสีเขียวอมน้ำตาล ผลเป็นฝักเล็กๆ มีสีเขียวสด รากเป้นรากสะสมอาหารเช่นที่พบในต้นกระชายจำนวนมาก

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
หัว : รักษาริดสีดวงทวารหนัก
รากแห้ง : ใช้เป็นยาแก้ไอและขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ยาขับพยาธิ
ราก : รักษาวัณโรค

Friday, December 12, 2008

ข่า ชุมเห็ดเทศ

พืชสมุนไพร กลุ่มยาแก็โรคผิวหนัง
เนื่องจากมีตัวยาที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อราได้เป็นอย่างดี จึงนำมาใช้เป็นยารักษษโรคผิวหนังได้หลากหลายโรค

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้หัวใบเดี่ยวขึ้นบนพื้นดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ใบรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นรวมกันแน่น เป็นส่วนที่เรียกว่าต้นข่า ที่จริงแล้วเป็นลำต้นเทียมที่เกิดจากใบ ดอกออกที่ปลายยอด ดอกสีขาว มีลายที่กลีบดอกสีแดง ม่วงประเป็นจุด ผลกลม
ข่า
ชื่อที่ใช้เรียก "ข่า" ( Alpinia galanga L. Wild )

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้า : ใช้ทานเป็นยาขับลม แก้บิด แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น อืดเฟ้อ ใช้ทาภายนอกรักษษโรคผิวหนัง
ชุมเห็ดเทศ
ชื่อที่ใช้เรียก "ชุมเห็ดเทศ" ( Senna alata L. Roxb. )

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนก ขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ใบย่อยรูปรีกลมโต สีเขียว กลีบดอกสีเหลืองสด ผลเป็นฝัก เมล็ดมีสีดำ เกิดตามพื้นชุ่มชื้นริมน้ำ

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เมล็ด : ขับพยาธิ
ใบสดหรือแห้ง : นำมาย่างพอสุก หั่นฝอย ชงเป็นชาดื่ม เป็นยาระบายแก้ท้องผูก
ดอกสด : แก้อาการท้องผูก ถ่ายพยาธิในลำไส้ โดยนำมาต้มรับประทาน ขับเสมหะ แก้หืด ใช้สดๆ ทารักษา โรคผิวหนัง เช่น กลาก เกลื้อน

Wednesday, December 10, 2008

การใช้พืชสมุนไพรให้ถูกวิธี

การใช้พืชสมุนไพรให้ถูกวิธี
- ใช้ถูกโรค ต้องศึกษาสรรพคุณของพืชสมุนไพรให้เข้าใจเสียก่อนว่าต้นนี้ต้นนั้นใช้แก็โรคอะไร และควรใช้ให้ถูกกับโรคที่เป็นอยู่ จะทำให้การใช้พืชสมุนไพรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

- ใช้ถูกต้น ปัจจุบันนี้มีการเรียกชื่อต้นไม้ต่างๆ มากมาย ทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย และภาษาต่างๆ ก็ผิดเพี้ยนไปจากสมัยก่อน แต่ละท้องถิ่นมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ดังนั้นการใช้ควรที่จะศึกษาให้ดี และควรใช้ให้ถูกต้น สิ่งสำคัญคือจะต้องเรียนรู้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพราะชื่อทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้

- ใช้ถูกส่วน พืชนั้นประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ เช่น ใบ ลำต้น ดอก ผล เมล็ด หัว เหง้า ราก เป็นต้น แต่จะต้องเข้าใจว่าส่วนต่างๆ ของพืชนั้นมีสรรพคุณและโทษที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรรู้จักใช้ให้ถูกส่วนว่าควรจะใช้ส่วนไหนจึงจะดี

- ใช้ถูกขนาด เมื่อเรียนรู้แล้วว่าควรจะใช้ส่วนไหนแล้ว ก็ควรเรียนรู้ด้วยว่าควรใช้ในปริมาณเท่าไรจึงจะดี ถ้าใช้มากก็อาจเป็นโทษไดก้ ดังนั้นจึงควรใช้ให้ถูกขนาด

- ใช้ถูกวิธี การใช้พืชสมุนไพรนั้นจะต้องเรียนรู้ด้วยว่าควรใช้อย่างไรและควรใช้ให้ถูกวิธี อย่างพืชบางชนิดจะต้องเอาไปต้มก่อน หรือบางชนิดจะต้องเอาไปตำก่อน เป็นต้น ดังนั้นการเรียนรู้วิธีการใช้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน
สมุนไพรรักษาโรค
ขอบเขตของการใช้พืชสมุนไพร
สมุนไพรนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยบำบัดอาการหรือโรคต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้บรรเทาได้ แต่ไม่สามารถรักษาโรครุนแรงหรืออุบัติเหตุฉุกเฉินให้หายได้ทันที เพราะการใช้พืชสมุนไพรนั้นมีขอบเขตและข้อจำกัดในการใช้เช่นกัน เนื่องจากพืชสมุนไพรนั้น ไม่ได้ออกฤทธิ์อย่างรวดเร็วแต่จะค่อยออกฤทธิ์อย่างช้าๆ ซึ่งไม่เหมาะกับโรคร้ายแรงหรืออุบัติเหตุฉุกเฉิน ดังนั้นหากมีอาการหนักมากให้ไปพบแพทย์จะดีกว่า

จำปี จำปา ( กลุ่มพืชหอม )

พืชสมุนไพร กลุ่มพืชหอม
พืชกลุ่มนี้จะมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย อยู่ในส่วนของกลีบดอก ทุกชนิดมีกลิ่นหอมที่ช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น
ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นที่ขึ้นบนดินปกติซึ่งมีใบเดี่ยวและดอกเดี่ยว มีสีเขียวกลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก
จำปี
ชื่อที่ใช้เรียก "จำปี" Michelia alba DC.

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา

ดอก : ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหย ( volatile oil ) ใช้ดอกวางในห้องเพื่อปรับอากาศให้หอมสดชื่น
จำปา
ชื่อที่ใช้เรียก "จำปา" Michelia champaca L.

ลักษณะพฤษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นที่ขึ้นบนดินปกติซึ่งมีใบเดี่ยวและดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลืองส้ม ผลเป็นผลกลุ่ม

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือกต้น : ฝาดสมาน แก้ไข้
รากแห้งและเปลือกหุ้มราก : ผสมกับนมสำหรับบ่มฝี
ดอก : มีน้ำมันหอมระเหย ( volatile oil ) แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ขับลม ขับปัสสาวะ ใช้ดมเมื่อมีอาการวิงเวียนอ่อนเพลีย ให้กลิ่นหอมสดชื่น
ใบ : แก้โรคประสาท
เนื้อไม้ : ต้มเป็นยาบำรุงประจำเดือน

Tuesday, December 9, 2008

กระดังงาไทย พิกุล ( กลุ่มพืชหอม )

พืชสมุนไพร กลุ่มพืชหอม
พืชกลุ่มนี้จะมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย อยู่ในส่วนของกลีบดอก ทุกชนิดมีกลิ่นหอมที่ช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น
ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นที่ขึ้นบนพื้นดินปกติซึ่งมีใบเดี่ยวและดอกเดี่ยว ใบมีสีเขียวอ่อน มีดอกกลีบบางอ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม ดอกมีสีเหลืองอมเขียว เมื่ออายุมากขึ้นกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
กระดังงาไทย
ชื่อที่ใช้เรียก "กระดังงาไทย" Cananga odorata (Lam) Hook. F. & Thomson var. Odorata

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ต้นและกิ่งก้าน : รับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ
ดอก : ให้น้ำมันหอม บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ ใช้ปรุงยาหอมบำรุงหัวใจ นิยมใช้ดอกสดแก่จัดลนไฟแต่งกลิ่นขนมไทย

พิกุล

ชื่อที่ใช้เรียก "พิกุล" Mimusops elengi L.
ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นที่ขึ้นบนดินปกติดอกมีลักษณะเป็นช่อดอกเดี่ยว มียางสีขาว ผลกลมโตสีแดงแสด รับประทานได้ มีรสฝาด หวาน ใบสีเขียว หนามัน

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอกสด : เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย
ดอกแห้ง : เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ
เปลือก : กลั้วล้างปาก แก้ปวดเมื่อย เหงือกบวม
เมล็ด : ตำแล้วใส่ทวารเด็ก แก้โรคท้องผูก
แก่นที่ราก : เป็นยาบำรุงหัวใจเนื้อไม้ : ที่เป็นเชื้อรา เรียกว่า ขอนดอก จะมีกลิ่นหอมสามารถใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

Monday, December 8, 2008

ส่วนต่างๆของพืชที่ใช้เป็นยาสมุนไพร ( Herbal Herbs )

ส่วนต่างๆของพืชที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร
ราก ได้แก่ ส่วนที่ทำหน้าที่ในการหาอาหารค้ำจุนลำต้น แต่ในพืชหลายชนิดนั้นเกิดการปรับตัว พัฒนาโครงสร้างของรากให้มีหน้าที่ พิเศษต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ การเป็นรากสะสมอาหาร ทำหน้าที่สะสมสารอาหารต่างๆ ที่ต้นพืชผลิตได้ และส่วนนี้เองที่ถูกนำมาใช้ในการปรุงยาสมุนไพร ในที่นี้จะยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เช่น หนอนตายอยาก กระชาย เป็นต้น

พืชสมุนไพรไทย (Thai Herbs)

ลำต้น ได้แก่ ส่วนที่อยู่เหนือดินที่พืชใช้เป็นแกนหลักให้สามารถยืนตั้งอยู่ได้ อาจจะเป็นต้นไม้ที่เป็นเถาเลื้อย ทอดนอน ตั้งตรง หรือบางต้นอาจมีเนื้อไม้แข็งแรง ขณะที่บางต้นเป็นไม้ล้มลุก อ่อนนิ่ม ขึ้นกับพืชอื่นๆไป เวลานำมาใช้เราก็มักจะนำลำต้นของพืชสมุนไพรมาฝานให้เป็นแว่นๆ แผ่นบางๆ ก่อนที่จะนำไปใช้ เช่น ขมิ้นต้น สะเดา ม้ากระทืบโลง บอระเพ็ด เป็นต้น

ใบ เป็นส่วนที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นยาสมุนไพรมากที่สุดอีกส่วนหนึ่ง หลายชนิดใช้ยอดอ่อน ใบอ่อนมาปรุงเป็นอาหาร ก็ถือว่าเป็นการกินอาหารให้มีคุณสมบัติเป็นยาไปในตัว โดยใบของพืชที่นำมาทำเป็นยาได้นั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น ฟ้าทะลาย พลู ฝรั่ง เตยหอม สะเดา ตำลึง เป็นต้น

ดอก เป็นส่วนที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการสืบพันธุ์ และมีช่วงเวลาบานหรือออกดอกแตกต่างกัน พืชหลายชนิดออกดอกเพียงปีละครั้งเท่านั้น จึงต้องเก็บยาสมุนไพรในรูปแบบอื่นๆ เช่น อบแห้ง เป็นต้น ส่วนการนำไปใช้นั้น อาจแบ่งย่อยได้อีก เช่น ส่วนของกลีบดอก เกสร หรือในบางชนิดที่สามารถใช้ได้ทั้งดอก แต่ต้องเก็บดอกตูมหรือดอกบาน เป็นต้น ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่ใช้ส่วนของดอกมาปรุงเป็นยา ได้แก่ คำฝอย ดอกบัว มะลิ กุหลาบ จำปี จำปา (ไม้ดอกหอม) เป็นต้น

ผล ได้แก่ ส่วนที่เกิดจากดอกที่ได้รับการผสมและเจริญเติบโตจนเป็นผล โดยส่วนใหญ่แล้ว ผลแก่จะเป็นผลที่ถูกนำมาใช้ทำเป็นยา ซึ่งวคุณภาพของยาสมุนไพรนั้นจะขึ้นกับความสมบูรณ์และอายุของผลด้วย ตำราต่างๆ จึงระบุไว้อย่างชัดเจนถึงอายุของผลที่จะนำมาใช้ และเราก็จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตัวอย่างสมุนไพรที่ใช้ผล เช่น มะขามป้อม มะขาม กระเจี๊ยบแดง มะเฟือง มะเกลือ เป็นต้น

เมล็ด เมื่อแกะส่วนของผลออกเราก็จะพบส่วนที่เรียกว่า เมล็ด ซึ่งซ่อนอยู่ภายในได้ไม่ยากนัก สำหรับเมล็ดนั้น มนุษย์เรานำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะเชื่อกันว่าภายในเมล็ดนั้น พืชได้มีการสะสมสารสำคัญต่างๆ เอาไว้เพื่อปกป้องและส่งเสริมให้ต้นอ่อนที่อยู่ภายในอยู่รอดได้เป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะในตำราจีนมักมีความเชื่อว่า ผู้ที่กำลังอ่อนเพลียในระยะพักฟื้นหากได้รับประทานเมล็ดพืชที่กำลังงอก เช่น ถั่วงอกเข้าไป จะทำให้ได้รับพลังจนหายวันหายคืนในที่สุด แต่ถ้ามองในอีกด้านหนึ่งที่ส่วนของเมล็ดมีอายุการเก็บรักษาโดยที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยได้ยาวนาน ก็หมายถึงการคงคุณสมบัติการเป็นยาสมุนไพรไว้ได้อย่างดีนั่นเอง

เหง้าหรือหัว ยังมีพืชอีกกลุ่มหนึ่งที่มีส่วนที่อยู่ใต้ดิน แต่ไม่ใช่ราก ที่จริงแล้วมันคือ ส่วนของลำต้นที่เรียกว่าเหง้าหรือหัวนั่นเอง มักพบได้กับพืชในกลุ่มขิง ข่า ไพล ส่วนของเหง้านี้มักมีน้ำมันหอมระเหยในหลายชนิด

Saturday, December 6, 2008

ความหมายของพืชสมุนไพร ( Medicinal Plants )

พืชสมุนไพร หมายถึง ส่วนต่างๆของพืชที่สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาบำบัดรักษาโรค ซึ่งเป็นถูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถนำเอาสมบัติของพืชแต่ละชนิดมาประยุกต์ใช้ สำหรับพันธุ์พืชโดยทั่วไปมีมากมายหลากหลายชนิด พืชบางชนิดมีคุณสมบัติที่จะบำบัดโรคได้หลายโรคขึ้นอยู่กับวิธีการนำไปใช้ แต่มีพืชหลายชนิดที่ต่างชนิดกัน แต่กลับมีคุณสมบัติในการรักษาโรคหรือบำบัดอาการเดียวกันได้ และด้วยความที่ประเทศไทยนั้นมีสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีความหลากหลายของพืชพรรณจำนวนมาก ดังนั้นการนำพืชใดมาใช้บำบัดอาการใดนั้นควรจะต้องศึกษาจากผู้ที่มีความรู้ให้ถูกต้องและรอบคอบเสียก่อน

สมุนไพรไทย (Thai herbs)

สมุนไพรไทย ( Thai Herbs )

สมุนไพร ไทยนี้ มีค่ามาก
พระเจ้าอยู่หัว ทรงฝาก ให้รักษา
แต่ปู่ย่า ตายาย ใช้กันมา
ควรลูกหลาน รู้รักษา ใช้สืบไป

พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ


สำหรับวงการสมุนไพรไทยนั้น ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมากด้วยความรู้ในการใช้สมุนไพรรักษาโรคนั้นเรียกว่า “หมอยา” ซึ่งมักจะมีกระจายอยู่ทั่วไปตามภูมิถาคต่างๆ อาทิ หมอยาภาคเหนือ ภาคอีสาน เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษได้รับการส่งผ่าน ตำรายา ที่จดบันทึกตำราสูตรยาต่างๆ ให้เราลูกหลานได้รู้จักคุณค่าของสมุนไพร

Herbs Medicine Popular Posts