Pages

Wednesday, January 28, 2009

มะดัน มะกรูด

พืชขสมุนไพร กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ
มักมีรสชุ่มคอ และมีส่วนประกอบของวิตามินต่างๆ โดยเฉพาะวิตามินซีมีสูง ช่วยบลรรเทาอาการไอ ขับเสมหะและรักษาอาการหวัดได้อีกด้วย

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบเดี่ยวเกิดขึ้นบนดินดอกเดี่ยว มียางสีเหลือง ใบรูปไข่กลับปลายแหลม แผ่นใบหนากรอบ ดอกแยกเพศ (อาจแยกเพศร่วมต้น หรือแยกเพศแยกต้นก็ได้) ขนาดเล็ก กลีบดอกมีสีเหลืองส้มหรือชมพูอ่อน ผลเป็นรูปกระสวย เมล็ดเป็นพูยาว มีรสเปรี้ยวจัด
มะดัน
ชื่อที่ใช้เรียก "มะดัน" ( Garcinia schomburgkiana Pierre )

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ : เป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม และปรุงเป็นยาต้ม รับประทานแก้กระษัย แก้ระดูเสีย ขับฟอกโลหิต เป็นยาระบายอ่อนๆ เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอได้ดี
ผล : มีรสเปรี้ยวและมีวิตามิน ซี สูง ใช้แต่งรสอาหาร
มะกรูด
ชื่อที่ใช้เรียก "มะกรูด" ( Citrus hystrix DC. )

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบเดี่ยวเกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ลำต้นเกลี้ยงเกลา กิ่งก้านมีหนามที่มีเนื้อไม้แหลม ใบแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงโคนใบเกิดจากก้านใบแผ่ออกดูคล้ายใบ และส่วนปลายคือใบที่แท้จริง มีกลิ่นหอมฉุนจากน้ำมันหอมระเหย (volatile oil) ดอกออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาวมีกลิ่นหอม ผลกลมผิวหนาขรุขระ

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก : ต้มดื่มกระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะ
ใบ : มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำเครื่องแกงและใช้แต่งประกอบอาหาร
ผล : นำมาเผาไฟพอไหม้คั้นเอาน้ำใช้สระผม
ผิวจากลูก : ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่นจุกเสียด

Saturday, January 17, 2009

มะขามป้อม เถาย่านาง (สมุนไพรพิกัดไทย)

พืชสมุนไพรพิกัดไทย
พิกัดไทยนั้นหมายถึง เป็นการกล่าวถึงการปรุงยาสมุนไพร ที่มีการใช้ส่วนผสมหลายชนิด และมักจะมีการระบุเป็นสูตรยาไว้ แล้วคำว่าสมุนไพรพิกัดไทยนั้น ก็จะหมายถึง สมุนไพรที่ใช้ในการปรุงยานั่นเอง

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบประกอบแบบขนนกเกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ใบดูผิวเผินจะคล้ายต้นมะขาม ดอกย่อยมีสีขาว ผลเป็นลูกกลมมีเนื้อเป็น 3 พลู รับประทานได้
มะขามป้อม
ชื่อที่ใช้เรียก "มะขามป้อม" ( Phyllanthus emblica L. )

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
น้ำคั้นจากผล : รับประทานแก้ท้องเสีย ขับปัสสะวะ หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ
ผล : แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ นำมาแช่อิ่มทานช่วยให้ชุ่มคอ
เถาย่านาง
ชื่อที่ใช้เรียก "เถาย่านาง" ( Tiliacora triandra (Colebr.) Diels )

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้เลื้อยใบเดี่ยวเกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ เถาสีเขียวสด ดอกย่อยขนาดเล็กมีสีเหลือง ผลรูปร่างกลมเกลี้ยงเป็นพวง สุกสีแดง

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
รากแห้ง : ต้มกับน้ำดื่ม แก้ไข้ทุกชนิด เป็นยาจับกระทุ้งพิษได้ดี

Friday, January 16, 2009

พริกไทย กะเพรา (สมุนไพรพิกัดไทย)

พืชสมุนไพรพิกัดไทย
พิกัดไทยนั้นหมายถึง เป็นการกล่าวถึงการปรุงยาสมุนไพร ที่มีการใช้ส่วนผสมหลายชนิด และมักจะมีการระบุเป็นสูตรยาไว้ แล้วคำว่าสมุนไพรพิกัดไทยนั้น ก็จะหมายถึง สมุนไพรที่ใช้ในการปรุงยานั่นเอง

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้เลื้อยใบเดี่ยวเกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ใบรูปสามเหลี่ยม โคนใบเว้า มีรากเกิดตามข้อเล็กน้อย ดอกออกตามข้อ ผลเป็นเม็ดกลม
พริกไทย
ชื่อที่ใช้เรียก "พริกไทย" (Piper nigrum L.)

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ : แก้ลมจุกเสียด
ผล : ผลที่ยังไม่สุกนำมาเป็นเครื่องเทศประกอบอาหาร เช่น แกงป่า
เมล็ด : ขับลม ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ตากแห้งได้พริกไทยดำ แต่ถ้านำไปแช่จนเปลือกเน่าแล้วขัดผิวจะได้เป็นพริกไทยขาว
ดอก : คั้นน้ำใช้หยอดตาแก้ตาแดง

ชื่อที่ใช้เรียก "กะเพรา" ( Ocimum sanctum L. )

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นพืชล้มลุกใบเดี่ยวเกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ใบมีขนปกคลุมทุกส่วน ขอบใบหยักเล็กน้อย มีกลิ่นฉุน ดอกออกที่ปลายยอด

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบและยอดทั้งสดและแห้ง : แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ใช้ประกอบอาหาร เช่น ผัดกระเพรา แกงป่า เป็นต้น
ใบและยอดทั้งสดและแห้ง : ใช้ขยี้กับปูนแดงทาท้องแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
ราก : แก้ไข้ รักษาโรคหนองใน
เมล็ด : มีเมือก (mucilage) เป็นยาหล่อลื่นคล้ายกับแมงลักและโหระพา

Tuesday, January 6, 2009

ลั่นทม มะขาม

พืชสมุนไพร กลุ่มยาถ่าย
มีสรรพคุณเป็นยาระบาย ซึ่งต้องศึกษาให้ดีก่อนใช้เพราะบางชนิดเป็นยาระบายอ่อนๆ แต่บางชนิดนั้นถ้าใช้ไม่ถูกต้องอาจเกิดอาการถ่ายที่รุนแรงได้

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบเดี่ยวขึ้นบนดินดอกเป็นช่อ มีเนื้อไม้ ทุกส่วนมียางขาว ใบรูปไข่กลับปลายใบแหลม เส้นใบย่อยรวมกันที่ขอบใบ แผ่นใบหนาเป็นมัน ดอกย่อยมี 5 กลีบล กลีบดอกรูปไข่กลับเรียงซ้อนเหลื่อมกัน คล้ายกังหัน สีกลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเหลืองอ่อน

ลั่นทม
ชื่อที่ใช้เรียก "ลั่นทม" (Plumeria obtusa L. )

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือกราก : ปรุงยาใช้เป็นยาถ่าย แก้โรคไขข้ออักเสบ
ใบ : ลนไฟให้ความร้อนพอกแก้ปวดบวม ชงน้ำร้อนใช้รักษาโรคหืด

มะขาม
ชื่อที่ใช้เรียก "มะขาม" ( Tamarindus induca L. )

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบประกอบแบบขนนกเกิดขึ้นบนดินดอกเป็นช่อ เป็นไม้โตช้า อายุยืน ใบย่อยรูปขอบขนาน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองปนจุดแดง ฝักกลมแบนโค้งคล้ายคียว เนื้อในฝักมีรสเปรี้ยว

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เนื้อในฝัก : รับประทานเป็นยาระบาย
เปลือกต้น : เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้
ใบ : ต้มกับน้ำ แก้ไข้ แก้บิด ขับพยาธิในเด็ก
เมล็ด : มี tannin แก้ท้องเสียเรื้อรัง

Saturday, January 3, 2009

คูน ขี้เหล็ก

พืชสมุนไพร กลุ่มยาถ่าย
มีสรรพคุณเป็นยาระบาย ซึ่งต้องศึกษาให้ดีก่อนใช้เพราะบางชนิดเป็นยาระบายอ่อนๆ แต่บางชนิดนั้นถ้าใช้ไม่ถูกต้องอาจเกิดอาการถ่ายที่รุนแรงได้

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบประกอบแบบขนนกเกิดขึ้นบนดินดอกเป็นช่อ ใบย่อยรูปไข่ปลายแหลม ดอกออกจากลำต้น ช่อดอกห้อยลง ดอกย่อยมีกลีบดอกสีเหลืองสวยงสมมาก (เป็นต้นไม้ประจำชาติไทย) ผลเป็นฝักกลมยาวเป็นข้อๆ ฝักแก่มีสีดำ


ต้นคูณ
ชื่อที่ใช้เรียก "ราชพฤกษ์" (Cassia fistula L.)

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ : รับประทานช่วยในการเป็นยาระบาย
เนื้อในฝัก : รับประทานเป็นยาถ่าย ปลอดภัยแม้ใช้กับเด็กและคนท้อง
เมล็ด: เป็นยาระบาย และทำให้คลื่นไส้
ราก : ฆ่าเชื้อคุดทะราด

ขี้เหล็ก
ชื่อที่ใช้เรียก "ขี้เหล็ก" (Senna siamea Lam. Irwin & Barneby)

ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบประกอบแบบขนนกเกิดขึ้นบนดินดอกเป็นช่อ ใบย่อยรูปรี ดอกออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีกลีบดอกสีเหลือง ฝักแบนยาวเป็นข้อๆ

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอก ยอดอ่อน : ใช้ปรุงอาหาร เช่น แกงขี้เหล็ก
แก่น เปลือก : ต้มดื่มเป็นยาระบาย
ใบและดอก : รับประทานเป็นยาทำให้หลับสบาย

Herbs Medicine Popular Posts