มักมีรสชุ่มคอ และมีส่วนประกอบของวิตามินต่างๆ โดยเฉพาะวิตามินซีมีสูง ช่วยบลรรเทาอาการไอ ขับเสมหะและรักษาอาการหวัดได้อีกด้วย
ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบเดี่ยวเกิดขึ้นบนดินดอกเดี่ยว มียางสีเหลือง ใบรูปไข่กลับปลายแหลม แผ่นใบหนากรอบ ดอกแยกเพศ (อาจแยกเพศร่วมต้น หรือแยกเพศแยกต้นก็ได้) ขนาดเล็ก กลีบดอกมีสีเหลืองส้มหรือชมพูอ่อน ผลเป็นรูปกระสวย เมล็ดเป็นพูยาว มีรสเปรี้ยวจัด
มะดัน |
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ : เป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม และปรุงเป็นยาต้ม รับประทานแก้กระษัย แก้ระดูเสีย ขับฟอกโลหิต เป็นยาระบายอ่อนๆ เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอได้ดี
ผล : มีรสเปรี้ยวและมีวิตามิน ซี สูง ใช้แต่งรสอาหาร
มะกรูด |
ลักษณะพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ต้นใบเดี่ยวเกิดขึ้นบนดินดอกมีลักษณะเป็นช่อ ลำต้นเกลี้ยงเกลา กิ่งก้านมีหนามที่มีเนื้อไม้แหลม ใบแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงโคนใบเกิดจากก้านใบแผ่ออกดูคล้ายใบ และส่วนปลายคือใบที่แท้จริง มีกลิ่นหอมฉุนจากน้ำมันหอมระเหย (volatile oil) ดอกออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาวมีกลิ่นหอม ผลกลมผิวหนาขรุขระ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก : ต้มดื่มกระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะ
ใบ : มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำเครื่องแกงและใช้แต่งประกอบอาหาร
ผล : นำมาเผาไฟพอไหม้คั้นเอาน้ำใช้สระผม
ผิวจากลูก : ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่นจุกเสียด